วิธีเพิ่มคะแนน IELTS Writing Part
หลักการเขียนในข้อสอบ IELTS Writing Part ต่างจากการเขียนในงาน เขียนเรียงความภาษาอังกฤษทั่วๆไป เพราะนอกจากจะเขียนเรียงความภาษาอังกฤษภายใต้กรอบจำนวนคำที่จำกัดแล้ว นักเรียนยังต้องแสดงความสามารถทางภาษาให้ Examiner ได้เห็น ซึ่งมีเงื่อนไขความกดดันเรื่องการบริหารจัดการเวลาอีกด้วย
สถาบัน New Cambridge จึงได้รวบรวมปัญหาที่พบบ่อยในการสอบ IELTS Writing ของน้องๆนักเรียนซึ่งเป็นสาเหตุว่า ทำไมนักเรียนไทยส่วนใหญ่มีปัญหาในการอัพคะแนน IELTS Writing มาสรุปให้ฟังเป็นข้อๆ
1. เทคนิคในการเขียนอธิบายกราฟ การอธิบายกราฟใน IELTS Writing task 1 ต้องใช้ทักษะการเขียนเชิงวิชาการ เพราะนอกจากจะมีความสามารถเข้าใจกราฟแล้วจะต้องเลือกใช้คำอธิบายการขึ้นลงของกราฟ หรือจุดสำคัญในกราฟได้อย่างถูกต้องด้วย รวมถึงสามารถอธิบายความแตกต่างแนวโน้มของกราฟได้อย่างละเอียดและชัดเจน
2. เทคนิคการใช้คำศัพท์มีน้อยเกินไป คำศัพท์ที่จำกัดมักจะทำให้งานเขียนเรียงความภาษาอังกฤษมีความน่าเบื่อ เพราะมักจะเจอว่าใช้คำเดียวกันซ้ำบ่อยเกินไป กลายเป็นปัญหาใช้คำซ้ำซ้อน นอกจากจะฝึกฝนกับอาจารย์ที่มีประสบการณ์หรือฝึกฝนเองก็ได้ด้วยการอ่านบทความต่างๆ ซึ่งอาจจะเริ่มจากเนื้อหาที่เราชอบหรือถนัดก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี
3. เลือกใช้คำในการเขียนไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่นช่วงเวลาทำข้อสอบ IELTS Writing เราอาจจะคิดว่าคำศัพท์คำนี้สามารถอธิบายความคิดเราได้ถูกต้อง แต่ในความเป็นจริงคำบางคำอาจจะมีความหมายเหมือนหรือคล้ายคลึงกันกลับไม่สามารถนำมาใช้ได้ในรูปประโยค บางคำเป็นคำคุณศัพท์ บางคำใช้เป็นกริยาวิเศษณ์ เป็นต้น ความแตกต่างเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางภาษาทำให้ความหมายบิดเบือน หากเราเลือกใช้คำผิดจะทำให้รูปประโยคไม่แข็งแรง ปัญหาในส่วนนี้แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่หากมีการเลือกใช้คำที่ถูกต้องจะทำให้บทความเราแข็งแรง ส่งผลต่อการอัพคะแนน IELTS Writing ในที่สุด
4. สะกดคำผิด เนื่องจากระหว่างการทำข้อสอบ IELTS Writing ในห้องสอบเราไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะช่วยเราตรวจสอบการสะกดผิด หากนักเรียนไม่แน่ใจว่าจะสะกดคำอย่างไรให้หลีกเลี่ยงมี่จะใช้คำนั้น แล้วเลือกใช้รูปประโยคอื่นหรือคำอื่นในการอธิบาย
5. ใช้คำเชื่อมประโยคที่เหมาะสม รูปแบบประโยคที่มีการเชื่อมโยงที่ดีช่วยให้การเล่าเรื่องไหลลื่นไปในทิศทางที่เราต้องการและทำให้คนอ่านไม่เบื่อ ส่งเสริมลำดับการเล่าเรื่องให้กลมกล่อมอ่านไม่รู้สึกขัด
6. ตอบคำถามให้ตรง ผู้ทำข้อสอบ IELTS Writing บางคนอาจจะเพลิดเพลินกับการเขียนอธิบายเกินไป จนลืมไปว่าคำอธิบายนั้นได้อยู่ในหัวข้อหรือเปล่า นักเรียนควรจะทบทวนหัวข้ออยู่เสมอ
7. เทคนิตการใช้ Tenses การใช้กาลกริยาผิดก็จะทำให้ความหมายผิดไป การเลือกใช้ Tenses ที่ถูกต้อง ช่วยให้คนอ่านเห็นภาพชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ชัดเจน
8. ไม่เข้าใจโครงร่างการเขียน และเขียนจำนวนคำได้น้อยเกินไป ก่อนการเขียน IELTS Writing เราควรจะวางโครงร่างก่อนเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของบทความให้ชัดเจนว่าเขียนเพื่ออะไร การวางโครงร่างช่วยให้เรากำหนดหัวข้อย่อยในบทความได้ง่ายขึ้น การสร้างหัวข้อย่อยได้ง่ายช่วยให้เราควบคุมทิศทางการอธิบายเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าได้ง่ายขึ้นด้วยนะ และยังสามารถกลับมาแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนคำในงานเขียนได้อย่างเป็นระบบ การทำข้อสอบ IELTS Writing Part อย่าลืมส่วนสำคัญของบทความ 3 ส่วน ได้แก่ introduction, body and conclusion นะ
9. ลายมืออ่านง่าย การสอบ IELTS Writing Part ลายมือของเราก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทักษะการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ การเขียนให้ชัดเจนอ่านง่ายช่วยให้ผู้เขียนกับผู้อ่านสามารถจูนความคิดไปทิศทางเดียวกันได้ง่ายผ่านบทความใน IELTS Writing Part
6 เหตุผลที่ควรเรียน IELTS กับ New Cambridge
เกณฑ์การให้คะแนน IELTS Writing Part ทำอย่างไรให้ได้ Band 7.5
ก่อนจะพิชิตคะแนน IELTS Writing Test Band 7.5 สิ่งสำคัญคือน้องๆต้องรู้หลักเกณฑ์การให้คะแนนก่อนนะ
(A) Task response (TR) 25% มีการตอบได้ตรงคำถาม หากอยากได้คะแนนเยอะในส่วนนี้ควรใช้เหตุผลสนับสนุนที่ดี ยกตัวอย่างประกอบเพื่อเพิ่มน้ำหนัก
(B) Coherence and Cohesion (CC) 25% มีลำดับการเล่าเรื่องที่ดี และใช้คำเชื่อม transitions words อย่างเหมาะสม หากอยากได้คะแนนเยอะในส่วนนี้ให้ฝึกร่างโครงร่างบทความ และฝึกเขียนเยอะๆหลากหลาย Topics
(C) Lexical Resource (LR) (25%) มีการใช้คำศัพท์ที่หลากหลายอย่างเหมาะสมกับเรื่องราวที่เล่า ใช้คำสะกดอย่างถูกต้อง หากอยากได้คะแนนสูงใน part นี้ ให้เลือกใช้คำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันน้อย หรือคำศัพท์แนะนำในหลักสูตร IELTS ของสถาบันต่างๆ
(D) Grammatical range and accuracy (GRA) 25% มีการใช้รูปแบบประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และมีความหลากหลายของรูปแบบประโยค หากอยากได้คะแนนเยอะในส่วนนี้ควรต้องใช้โครงประโยคที่ซับซ้อนและไม่ควรผิดเลย
หากสังเกตดีๆจากเกณฑ์การให้คะแนน IELTS Writing Part มีเพียง 50% เท่านั้นที่ใช้ทักษะภาษาอังกฤษจริงๆ เพราะ 50% แรก (TR) 25% + (CC) 25% เป็นทักษะการลำดับความคิด การใช้เหตุผล และทักษะของนักเล่าเรื่องที่ดี การทำคะแนน IELTS Writing 7.5 ก็คงไม่ใช่เรื่องยากเกินคนทั่วไปจะทำได้ หากได้ฝึกฝนพัฒนาอย่างถูกต้องก็จะช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายมากขึ้น
วิธีเพิ่มคะแนน IELTS Speaking Part
แนวการทำข้อสอบ IELTS Writing Part
ข้อสอบ IELTS Writing Part มีทั้งหมด 2 task โดยจะมีเวลาให้ทำข้อสอบทั้งหมด 60 นาที IELTS Writing task 1 คือการเขียนอธิบายกราฟ ชาร์ต ตาราง และรูปแบบไดอะแกรมต่างๆ
ส่วนข้อสอบ IELTS Writing task 2 คือการเขียนบรรยายแสดงความคิดเห็น การโต้แย้ง การเปรียบเทียบ หรือเสนอวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ
หัวข้อส่วนใหญ่ที่ออกข้อสอบบ่อยที่สุดใน IELTS Writing task 2 ครอบคลุมเรื่อง กีฬา การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งสาธารณะ กระบวนการยุติธรรม อาชญากรรมเยาวชน การพัฒนา และโลกาภิวัฒน์
ในข้อสอบ IELTS Writing task 2 นอกจากทักษะภาษาอังกฤษที่ต้องเก่งแล้ว นักเรียนควรจะมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆด้วย เพราะในข้อสอบส่วนนี้ความรู้ทั่วไปก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าจำนวนคำศัพท์และแกรมม่าเลย เราสามารถหาเหตุผลที่ดีมาช่วยสนับสนุนงานเขียนเราได้ด้วย
คะแนนและการแบ่งเวลาในการสอบ IELTS Writing
ข้อสอบ IELTS Writing task 1 คะแนนเต็ม 20
ข้อสอบ IELTS Writing task 2 คะแนนเต็ม 40
เวลาในการทำข้อสอบ IELTS Writing 60 นาที การแบ่งเวลาทำข้อสอบ IELTS Writing task 1&2 เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ควรมีการวางแผนทำโครงร่างการเขียนให้ดี และระวังไม่เขียน task ใด task หนึ่งมากเกินพอดี เพราะจะทำข้อสอบไม่ทัน แต่ก็ไม่ควรเขียนน้อยกว่าจำนวนคำที่กำหนด ส่วนจะใช้เวลาแต่ละ task เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนและความยากง่ายของโจทย์ แต่ส่วนใหญ่ผู้เข้าสอบจะใช้เวลาทำข้อสอบ IELTS Writing task 2 ประมาณ 40 นาที และใช้เวลาทำข้อสอบ IELTS Writing task 1 ไม่เกิน 20 นาที
ข้อมูลการเตรียมตัวสอบ IELTS
เจาะลึกเทคนิควิธีการเขียนเพิ่มคะแนน IELTS Writing task 1
การเขียนอธิบายกราฟ เพิ่มคะแนน IELTS Writing
เป็นการเขียนอธิบายเกี่ยวกับกราฟ ตาราง ชาร์ต หรือไดอะแกรม เพื่อเปรียบเทียบข้อมูล หรืออธิบายถึงกระบวนการต่างๆอย่างเป็นขั้นตอน ใช้ทิศทางการเขียนไปทางเชิงรายงาน โดยไม่ต้องเพิ่มเติมความคิดเห็นส่วนตัวประกอบในการเขียนรายงาน และต้องเขียนไม่ต่ำกว่า 150 คำ ก่อนเขียนควรวิเคราะห์คำถามซึ่งมีเทคนิค ดังนี้
ดูว่าเป็นข้อมูลลักษณะไหน กราฟ ตาราง ชาร์ต หรือไดอะแกรม และข้อมูลกำลังอธิบายเกี่ยวกับเรื่องอะไร
สังเกตหน่วยวัดจำนวนข้อมูลว่ากำลังใช้หน่วยอะไร เปอร์เซ็นต์ สกุลเงิน เวลา ฯ
กราฟ ตาราง ชาร์ต หรือไดอะแกรม ไม่ได้บอกข้อมูลตรงๆ ต้องใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่าง จุดสำคัญของข้อมูล แนวโน้มมีการเพิ่มขึ้น หรือลดลง แล้วบันทึกข้อมูลไว้สำหรับการเขียน
เจาะลึกเทคนิควิธีการเขียนเพิ่มคะแนน IELTS Writing task 2
วิธีการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษให้อ่านง่าย กระชับ และน่าสนใจ การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษที่ดี (Essay) อันดับแรกต้องโฟกัสไปที่ประเด็นและวัตถุประสงค์ในการเขียน คิดถึงกลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใคร? จะทำอย่างไรให้สามารถอ่านทำความเข้าใจได้ง่าย? แต่ละย่อหน้าจะสร้างความต่อเนื่องเป็นเหตุเป็นผลกันอย่างไร? การวางโครงร่างเรียบเรียงความคิดเป็นลำดับ และใช้ทักษะการนำเสนออธิบายอย่างเป็นธรรมชาติ
แล้วเราจะเขียนเรียงความภาษาอังกฤษยังไงดีให้สั้น กระชับ อ่านง่าย แต่ก็ยังน่าสนใจได้อย่างไร?
Title
การตั้งชื่อเรื่องให้งานเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ เป็นการสรุปเรื่องทั้งหมดให้เหลือเพียงประโยคเดียว Title จะช่วยบอกว่าเนื้อหากำลังจะเล่าคืออะไร เราสามารถใช้ Title งานเขียนเพื่อดึงดูดความน่าสนใจ
Introduction
หลังจากดึงดูดคนอ่านด้วย Title ได้แล้ว บทนำนี่แหละจะช่วยโน้มน้าวให้คนอ่านอยากรู้อยากเห็นมากขึ้นอีก เราสามารถใส่ประเด็นที่เรากำลังจะไปขยายต่อ บทนำงานเขียนเรียงความภาษาอังกฤษที่ดีควรเขียนให้จบภายในหนึ่งย่อหน้าเพื่อความกระชับและตรงประเด็น
Body
คือการเขียนอธิบายประเด็นหลักและประเด็นย่อยโดยแบ่งเป็นย่อหน้า เพื่ออธิบายขยายความบทนำด้วยการเล่าเรื่อง หรือการแสดงความคิดเห็น พร้อมให้เหตุผลและยกตัวอย่างอ้างอิง
Coherence
คือการเรียบเรียงเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าประกอบด้วยไอเดียและเหตุผล ย่อหน้าที่ดีมักจะเล่าเรื่องเพียงหัวข้อเดียว เริ่มย่อหน้าด้วยใจความสำคัญ แล้วใช้การอธิบายหรืออ้างอิงเพื่อสนับสนุนใจความหลัก
Cohesion
เป็นการเชื่อมระหว่างประโยค เพื่ออธิบายความต่อเนื่องระหว่างประโยคให้มีความเป็นธรรมชาติ
ตัวอย่างคำเชื่อมแสดงลำดับความต่อเนื่อง: firstly, secondly, after, lastly
ตัวอย่างคำเชื่อมแสดงการสนับสนุนกัน: In addition, also, similarly
ตัวอย่างคำเชื่อมแสดงความขัดแย้งกัน: instead, In comparison
Conclusion
การสรุปของเรียงความภาษาอังกฤษในการใช้สอบ IELTS ที่ดี ใช้เพียงหนึ่งย่อหน้าเท่านั้น เพราะเป็นการขมวดสิ่งที่เราเล่ามาทั้งหมดให้สั้นกระชับ และทำให้คนอ่านนำเก็บไปคิดทบทวนได้ด้วย
ข้อควรระวังในการเขียน IELTS Writing task 2 การเขียนเรียงความ task 2 มีข้อควรระวังเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในการสอบเพื่อป้องกันไม่ให้โดนตัดคะแนน และผู้เข้าสอบมักจะโดนตัดคะแนนกันเยอะโดยไม่รู้ตัว จึงมักเป็นที่มาของปัญหาที่ว่า “รู้สึกว่าเราเขียนได้ดี แต่ทำไมได้คะแนนน้อยจัง?” ใน Topic นี้ สถาบัน New Cambridge ได้รวบรวมข้อควรระวังไว้ให้นักเรียนเอาไปปรับใช้กันเป็นข้อๆ มีใครทำข้อไหนโดยไม่รู้ตัวบ้าง?
เขียนอธิบายไม่ตรงประเด็นกับที่โจทย์ถาม
ชอบใช้คำย่อในการเขียน
ใช้คำซ้ำเยอะเกินไป
ไม่ค่อยได้ใช้ COMPLEX SENTENCE
มีหลายไอเดียในหนึ่งย่อหน้า
ใช้ GRAMMA ผิดเยอะ
ลำดับความคิดในการเขียนไม่ดี อ่านเข้าใจยาก
รูปแบบคำถาม IELTS Writing task 2 การตอบคำถามใน task 2 เป็นการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 250 คำ ถ้าหากเราแยกรูปแบบคำถามเพื่อทำความเข้าใจและใช้ในการฝึกฝน จะช่วยให้นักเรียนสามารถมองเห็นรูปแบบของคำถามได้ง่าย แล้วตอบได้ตรงประเด็นที่สุด สถาบัน New Cambridge ได้สรุปรูปแบบคำถามที่บ่อยที่สุดไว้ 5 ประเภท
AGREE OR DIS AGREE
โจทย์จะกำหนดให้ตอบคำถามว่า เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย เป็นการถามในรูปแบบที่ต้องการคำตอบฟันธงชัดเจน ถึงแม้จะเป็นการแสดงความคิดเห็นไม่มีถูกหรือผิด แต่เราต้องมีเหตุผลสนับสนุน ยกตัวอย่างประกอบให้กรรมการเห็นภาพและคล้อยตาม การแสดงความคิดเห็นต้องมีการชั่งน้ำหนักว่าเพราะอะไรถึงเห็นด้วย และเพราะอะไรทำให้ไม่เห็นด้วย
ADVANTAGES OR ADVANTAGES
โจทย์คำถามนี้ต้องการให้เราอธิบาย ข้อดี ข้อเสีย ของบางเคยโดยมองอย่างเป็นกลางว่าข้อดีบางอย่างมีประโยชน์หรือเหนือกว่าข้อเสียหรือไม่ อย่างไร
DISCUSS BOTH VIEW YOUR OPINION
โจทย์รูปแบบนี้ต้องการให้เราอภิปรายแนวความคิด 2 มุมมองในสถานการณ์หนึ่งๆ ว่าเรามีความคิดเห็นทั้ง 2 มุมมองในสถานการณ์นั้นอย่างไร บางโจทย์อาจจะถามว่าแล้วมองในมุมมองไหนดีกว่า ซึ่งส่วนใหญ่โจทย์จะกำหนดแนวความคิดมาตรงข้ามกัน บางกรณีโจทย์อาจกำหนดให้ผู้เข้าสอบใส่มุมมองความคิดส่วนตัวเข้าไปได้
CAUSES PROBLEMS, EFFECTS AND SUGGEST SOLUTION
รูปแบบคำถามแบบนี้ โจทย์ต้องการให้เราอธิบายถึงอะไรคือสาเหตุของปัญหา ผลกระทบที่เกิดขึ้น แล้วให้เสนอทางออกของปัญหาด้วย กรรมการจะดูการคิดวิเคราะห์ วิธีการคิด แบะสามารถใช้ภาษาอธิบายออกมาเป็นเหตุเป็นผลมากแค่ไหน
POSITIVE OR NAGATIVE
รูปแบบคำถามต้องการให้เราตอบชัดเจนว่าสิ่งมี่โจทย์ให้มามันดีขึ้นหรือแย่ลง แล้วแสดงความคิดเห็นว่าทำไมเราถึงคิดแบบนั้นไม่ว่าเราจะตอบไปทิศทางไหนก็ตาม
ตัวอย่างข้อสอบจริงพร้อมเทคนิค IELTS Writing Part ฟรี